การพัฒนาครูเพื่อคุณภาพของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
Teacher Development for Learners’ Quality in the 21st Century
keyword: การพัฒนาครู
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพผู้เรียน ในศตวรรษที่ ๒๑ ๒) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ ๓) เพื่อเสนอการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ เป็นรูปแบบผสมวิธี คือ ๑) การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่าง ๓๔๖ ท่านทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ๒) การวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ๑๐ และการจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ๑๐ ท่าน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ๑. สภาพการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ พบว่าความเหมาะสมของการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพของผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาด้าน พบว่า ด้านที่มีสภาพการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด ๓ ด้าน คือ การส่งเสริมและพัฒนาสิทธิครู การผลิตครูให้ได้มาตรฐานเพื่อรองรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ การสร้างมาตรฐานวิชาชีพครูให้เป็นที่ยอมรับ และด้านที่มีสภาพการพัฒนาอยู่ในระดับมาก ๒ ด้าน คือ การพัฒนาครูให้เกิดทักษะการจัดการเรียนรู้เพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ และการเสริมสร้างประสิทธิภาพการใช้ครู ๒. กระบวนการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ ประกอบด้วย ๑) การสร้างมาตรฐานวิชาชีพครูให้เป็นที่ยอมรับ ๒) การผลิตครูให้ได้มาตรฐานเพื่อรองรับการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ ๒๑ ๓) การพัฒนาครูให้เกิดทักษะการจัดการเรียนรู้เพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ๔) การเสริมสร้างประสิทธิภาพการใช้ครู และ ๕) การส่งเสริมและพัฒนาสิทธิครู ๓. ผู้ทรงคุณวุฒิได้ตรวจสอบการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ พบว่า มีความเหมาะสมสามารถนำไปพัฒนาได้จริง โดยมี ๕ องค์ประกอบหลัก ได้แก่ องค์ประกอบที่ ๑ การสร้างมาตรฐานวิชาชีพครูให้เป็นที่ยอมรับ คือ ๑) จัดระบบการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เงินเดือน และวิทยฐานะ ๒) จูงใจให้คนเก่งคนดีเข้าสู่อาชีพครู ๓) ยกย่องและเชิดชูเกียรติครูที่มีผลงานดีเด่น คุณธรรม และจรรยาบรรณ องค์ประกอบที่ ๒ การผลิตครูให้ได้มาตรฐานเพื่อรองรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ คือ ๑) การปฏิรูปครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ให้ทันสมัยกับวิทยาการการเรียนรู้ ๒) ลดการผลิตครูเชิงปริมาณและผลิตครูสาขาขาดแคลน ให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานศึกษา องค์ประกอบที่ ๓ การพัฒนาครูให้เกิดทักษะการจัดการเรียนรู้เพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ คือ ๑) ปฏิรูปวิธีการพัฒนาครูให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ๒) ส่งเสริมความรู้และการพัฒนาครูตามความต้องการ องค์ประกอบที่ ๔ การเสริมสร้างประสิทธิภาพการใช้ครู คือ ๑) เตรียมครูและสนับสนุนการสอนของครูให้มีประสิทธิภาพ ๒) ปฏิรูปห้องเรียน และองค์ประกอบที่ ๕ การส่งเสริมและพัฒนาสิทธิครู คือ ๑) เสริมสร้างสิทธิครู ๒) รักษาและปกป้องสิทธิครู
Abstract: The purposes of this research were; 1) to study the state of teacher development for learners’ quality in the 21st century, 2) to study the teacher development process for learners’ quality in the 21st century, and 3) to propose the teacher development for learners’ quality in the 21st century. The mixed research methodology was used in the study. The quantitative data were collected from 349 samples by questionnaires and analyzed by mean and standard deviation. The qualitative data were collected by in-depth interviews with 10 experts and focus group discussions, and then analyzed by content analysis. The research found that; 1. The appropriateness of teacher development for learners’ quality in the 21st century was at the highest level overall. When considering in aspects, promotion and development of teachers’ rights, producing teachers to meet standard criteria, and establishing recognized professional standards for teachers were at the highest level, while teacher development in learning management skills and enhancing teacher efficiency were at a high level. 2. Teacher development process for learners’ quality in the 21st century consists of: 1) To create the recognized teacher professional standards, 2) To produce teachers to support and meet the learning standards in the 21st century, 3) To develop teachers in learning management skills for 21st century, 4) To strengthen teachers’ efficiency, and 5) To promote and develop the teachers’ rights 3. The appropriateness and applicability of the teacher development for learners’ quality in the 21st century were examined and approved by the experts for actual implementation. There were 5 main components; 1. Recognized teacher professional standards consisted of; 1) To systemize teaching profession license, salary and academic background, 2) To motivate qualified people into the teaching career, 3) To praise and reward teachers with outstanding performance, virtue and good behaviors, 2. Producing teachers to meet learning standards in the 21st century by; 1) Education reform, 2) Reducing the production of teachers in quantity but producing teachers on demand, 3. To develop teachers with learning management skills for the 21st century by; 1) Reforming teacher development methods in accordance with learning in the 21st century, 2) Promoting knowledge and teacher development on demand, 4. Enhancing teacher efficiency by; 1) Preparing teachers and supporting teachers' teaching effectively, 2) Reforming the classroom, and 5. Supporting and developing the teachers’ rights by; 1) Strengthening the teachers’ rights, 2) Maintaining and protecting the teachers’ rights.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: พระนครศรีอยุธยา
Email: boonyong.phi@mcu.ac.th
Name: อินถา ศิริวรรณ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Name: พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Created: 2561
Modified: 2562-09-14
Issued: 2562-09-14
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
tha
DegreeName: พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Level: ปริญญาเอก
Descipline: สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา
Grantor: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
©copyrights มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น