สภาพการพัฒนาครูเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4
Name: อชิรญา คำแสนราช
keyword: ประชาคมอาเซียน
ThaSH: ครู
Classification :.DDC: 371.1 อ11ส
ThaSH: การศึกษาขั้นประถม
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพ เปรียบเทียบ และปัญหาข้อเสนอแนะการพัฒนาครูเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 จำแนกตาม เพศ ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 408 คน กำหนดขนาดตามตาราง Krejcie and Morgan ได้มาด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t การทดสอบค่า F และ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลวิจัยพบว่า 1. สภาพการพัฒนาครูสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูต่อสภาพการพัฒนาครูสู่ประชาคมอาเซียน โดยจำแนกตาม เพศ ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียน โดยรวมทุกด้านไม่แตกต่างกัน 3. ปัญหา และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสภาพการพัฒนาครูเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียน พบว่า ครูไม่สามารถใช้ภาษาอาเซียนสำหรับการสื่อสารได้และขาดแคลนงบประมาณ ครูบางกลุ่มสาระไม่สามารถใช้ภาษาอาเซียนในการบูรณาการและสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนในการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ การจัดกิจกรรมบางอย่าง เช่น การส่งเสริมให้ครูได้ติดต่อสื่อสารกับเพื่อนในอาเซียน การไปทัศนศึกษา การใช้สื่ออินเตอร์เน็ต โรงเรียนขนาดเล็กจะขาดแคลนทั้งบุคลากรและงบประมาณในการดำเนินกิจกรรม โรงเรียนขาดแคลนงบประมาณในการจัดหา จัดซื้อสื่อเทคโนโลยีเกี่ยวกับอาเซียนและโรงเรียนขาดสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยและน่าสนใจ และครูไม่สามารถใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารกับประเทศอาเซียนอื่นได้ ข้อเสนอแนะ ควรจัดอบรมหรือจัดสรรครูที่มีความสามารถในการใช้ภาษาอาเซียนให้กับโรงเรียน และจัดสรรงบประมาณในการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อาเซียนในโรงเรียน ควรจัดอบรมให้ครูทุกกลุ่มสาระให้มีความเข้าใจและสามารถการใช้ภาษาอาเซียนในการบูรณาการและสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนในการเรียนภาษาต่างประเทศในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ ได้ ควรจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้กับโรงเรียนขนาดเล็กและสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ นำนักเรียนไปร่วมกิจกรรมกับโรงเรียนในเครือข่าย ควรจัดสรรงบประมาณให้กับทุกโรงเรียนอย่างเพียงพอและสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ กับโรงเรียนอื่นที่มีความพร้อม และควรจัดอบรมการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารให้กับครู และควรจัดให้มีการแลกเปลี่ยนครูระหว่างประเทศอาเซียนเพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพด้านการใช้ภาษาของครู
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: อุบลราชธานี
Email: info.lib@ubru.ac.th
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Created: 2560
Modified: 2561-10-27
Issued: 2561
Issued: 2561-09-20
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
tha
Spatial: ไทย
DegreeName: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: การบริหารการศึกษา
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
RightsAccess:
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น