รูปแบบการพัฒนาครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด
A Secondary School Teacher Development Model Under The Jurisdiction Of Roi-Et Secondary Educational Service Area Office
Name: อุบล วรรณพาด
Organization : มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพและความต้องการการพัฒนาของครู โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด และ 3) ประเมินรูปแบบที่พัฒนาขึ้นโดยครู ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์สภาพและความต้องการการพัฒนาของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการพัฒนาของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด และขั้นตอนที่ 3 ประเมินรูปแบบการพัฒนาของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยตามขั้นตอนที่ 1 ได้แก่ ครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 336 คน โดยใช้ตารางเครจซีและมอร์แกนเป็นตัวกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างแล้วสุ่มอย่างง่ายให้ได้ตามจำนวน ขั้นตอนที่ 2 เป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และขั้นตอนที่ 3 เป็นผู้บริหารและครู จำนวน 40 คน เป็นผู้ประเมินรูปแบบและได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สำหรับขั้นตอนที่ 1 ประเด็นเพื่อพิจารณารูปแบบเป็นเครื่องมือสำหรับการวิจัยในขั้นตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามปลายเปิด เพื่อใช้ในการสนทนากลุ่ม และขั้นตอนที่ 3 ใช้แบบประเมินซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการพัฒนาครูในรอบปีการศึกษา 2558-2559 สรุปได้ดังนี้ 1) ครูส่วนมากในปีการศึกษา 2558-2559 ได้รับการพัฒนามากกว่า 2 ครั้ง 2) ความรู้ที่เป็นเนื้อหาที่ครูได้รับการพัฒนาส่วนมากตรงตามความต้องการ 3) วิธีการพัฒนาที่ใช้สำหรับการพัฒนาเป็นอันดับที่ 1 คือ การฝึกอบรม และ 4) ช่วงระยะเวลาที่เข้ารับการพัฒนาเป็นวันเสาร์และอาทิตย์ 2. ความต้องการพัฒนาครู ครูส่วนมากต้องการได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะในการใช้ TCI วันเสาร์-อาทิตย์ เป็นวันที่ต้องการมากที่สุด และส่วนมากต้องการให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบงบประมาณสำหรับการพัฒนาครู 3. รูปแบบการพัฒนาของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 องค์ประกอบ คือ 1) กระบวนการพัฒนาครู ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย ได้แก่ การหาความต้องการพัฒนาของครู การวางแผนพัฒนา การปฏิบัติตามแผน และการประเมินการพัฒนา และ 2) วิธีการพัฒนา ประกอบด้วยวิธีการฝึกอบรม การศึกษา ดูงาน การประชุมสัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาต่อ การหมุนเวียนสับเปลี่ยนงาน และการเรียนรู้จากการปฏิบัติ 4. ผลการประเมินรูปแบบพบว่ามีความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ ความเหมาะสมและความถูกต้อง ในภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด คำสำคัญ: รูปแบบ, การพัฒนาครู
Abstract: This research aimed to 1) determine the situations of secondary school teacher and needs for development; 2) develop a secondary school teacher model under the jurisdiction of Roi-ET Secondary Educational Service Area Office; and 3) evaluate the developed model. The research procedure was divided into 3 phases: Firstly, to determine the situation of secondary school teachers and needs for development; Secondly, to develop a secondary school teacher development model; and Thirdly, to evaluate the developed model. Samples for the first phase were 336 secondary school teachers, 10 experts for the second phase, and samples in the third phase consisted 40 school administrators and teachers. Research instrument for the first phase was a 5-rating scale questionnaire. Open-ended questionnaire was used for data collection in the second phase, and a 5-rating scale questionnaire was used for data collection in the third phase. Data were analyzed by a computer program with percentage, mean, and Standard Deviation. The research results were as following: 1. The secondary school teacher development in the 2015-2016 academic years were: 1) Most of secondary school teachers were developed more than twice times. 2) Development contents were relevant to teacher’s needs. 3) A Training method was the most popular used for teacher development, and 4) Saturday and Sunday were used for secondary school teacher development. 2. Most of secondary school teachers need to develop Knowledge and Skills in using ICT, Saturday and Sunday are suitable for secondary school teacher development, and Roi-ET Secondary Educational Service Area Office should take a responsibility for secondary school teacher development budget. 3. A Secondary school teacher development model composes of two vital components. They were a process of teacher development and methods for teacher development. 4. The developed model was evaluated in terms of feasibility, utility, propriety, and accuracy. The evaluation result as a whole was at the highest level in every aspect. Keywords: Model, Teacher development
มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. สำนักหอสมุดและสารสนเทศ
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: library@northbkk.ac.th
Name: ณรงค์ พิมสาร
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Name: กาญจนา บุญภักดิ์
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Created: 2561
Modified: 2562-07-21
Issued: 2562-07-21
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
CallNumber: วพ PH.D. อ832ร 2561
tha
Spatial: ร้อยเอ็ด
DegreeName: Doctor of Philosophy
Level: Doctoral Degree
Descipline: Educational Administration
Grantor: North Bangkok University
©copyrights มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น